Innovation Cluster Community

 

Food Innovation

     ผลิตภัณฑ์อาหารมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค เทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการ นอกจากนี้การสร้างเครือข่ายตลอด value chain ในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารเชื่อมโยงความเชี่ยวชาญและความสามารถของผู้ผลิต หน่วยงานวิจัย หน่วยงานสนับสนุนทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง จะช่วยลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย “นิคมวิจัยสำหรับเอกชน” มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ทำวิจัย พัฒนา และให้บริการด้านนวัตกรรมอาหาร หลายหน่วยงานดังนี้

 
 
 
      

Food R&D Facilities ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับอาหารของสวทช. Read More

 
 
 
 
 

Food Firm Tenants ในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง Read More

 
 
 
 
 

Food Network การบริการและการสนับสนุนสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสวทช. Read More

 
 
 
 
 

Services & Supports Read More

 

Food R&D Facilities

ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับอาหารของสวทช.  ได้แก่
 

1. ศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์ Food and Feed Innovation Center

          วิจัยและพัฒนา ใช้เทคโนโลยีชีวภาพสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อโจทย์และความต้องการของภาคเอกชน ทั้งการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการพัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้นแล้วไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การทดสอบและพัฒนาระบบการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรม จนได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับการทดลองในภาคสนามและการประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ซึ่งจะผลักดันผลงานวิจัยให้สามารถถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

        ประสานงานจัดหาและรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สร้างพันธมิตรวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ เป็นตัวกลางจัดหาและปรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการในไทย ตลอดจนบริการทางวิชาการในด้านการเป็นที่ปรึกษา การให้บริการด้านเทคนิค การให้บริการเช่าเครื่องมือสำหรับภาครัฐและเอกชน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการฝึกอบรมเฉพาะทางให้กับบุคลากร เพื่อยกระดับความสามารถทางเทคนิคของบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญและทักษะเพิ่มขึ้น ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้ด้านการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ เพื่อกำหนดเกณฑ์ควบคุมความปลอดภัยในอาหารตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปลายทางการผลิต

 

2. BIOTEC Bioprocessing Facilities

        โครงสร้างพื้นฐานของไบโอเทคที่เตรียมสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีงานวิจัยด้านการพัฒนากระบวนการผลิตสารเมตาบอไลท์และสารมูลค่าสงจากจุลินทรีย์สู่ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รองรับงานที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ทั่วไปและจุลินทรีย์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (GMM) ในระดับขยาย

 

3. หน่วยวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางชีวภาพ Biosensing Technology Unit

        ทำงานวิจัยด้านอุตสาหกรรมการอาหารนั้น มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัยทางอาหาร และการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร โดยวิจัยและพัฒนาตัวจับอย่างมีความจำเพาะเจาะจง การพัฒนาเทคโนโลยีชุดตรวจที่สามารถตรวจสารบ่งชี้ทางชีวภาพได้ทีละหลายตัวพร้อมๆ กัน และการตรวจสารก่อโรคปนเปื้อนในอาหาร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารมีความปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า พร้อมกันนี้ได้พัฒนาวิธีการวิเคราะห์สารชีวโมเลกุล (metabolites) การตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารด้วยการตรวจสารเมตาโบไลท์ การตรวจสารอาหารเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้คงเหลือสารอาหารที่ต้องการ และการตรวจสารอาหารที่สำคัญ รวมถึงการให้บริการในเชิงพาณิชย์ในการตรวจวัดระดับ biomarker

        สำหรับงานวิจัยด้านอุตสาหกรรมการเกษตร มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมพืชเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสัตว์น้ำเศรษฐกิจ โดยการค้นหาสารบ่งชี้ทางชีวภาพที่มีความจำเพาะและสามารถตรวจได้ทีละหลายตัวพร้อมๆ กัน เช่น การนำเทคโนโลยีแบบอะเรย์ไม่ว่าจะเป็นแอนติบอดีอะเรย์หรือบีดอะเรย์เพื่อเป็นชุดตรวจเชื้อก่อโรคในพืชทีละหลายๆ ชนิด พร้อมกันนี้ยังมุ่งเน้นเรื่องการตรวจโรคในปลาและกุ้ง และการตรวจความสมบูรณ์พันธุ์ของกุ้ง โดยการใช้ดีเอ็นเอไมโครอะเรย์ next generation sequencing และ in silico methods ทำการศึกษาในระดับ genomics และ transcriptomics เพื่อศึกษาหาสารชีวโมเลกุลที่บ่งชี้ถึงความสมบูรณ์พันธุ์ของกุ้งกุลาดำ การใช้เทคโนโลยี bead array ศึกษาประชากรแบคทีเรียในลำไส้กุ้ง เพื่อค้นหาตัวบ่งชี้ถึงแบคทีเรียกลุ่มที่มีประโยชน์และอาจพัฒนาเป็น probiotics ในการเพิ่มภูมิคุ้มกันสัตว์น้ำ เช่น กุ้งกุลาดำ การใช้เทคโนโลยีแลมป์ร่วมกับวัสดุนาโน ร่วมกับเทคโนโลยี microfluidics และแลมป์เปลี่ยนสี (LAMP-color) รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี electrochemical sensor เพื่อการตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในสัตว์น้ำ

 

4. หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีแปรรูปมันสำปะหลังและแป้ง

        เป็นหน่วยงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างไบโอเทค และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลังและแป้ง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมมันสำปะหลังและแป้ง และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันกับอุตสาหกรรมอื่นๆ  และก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในทางตรงและทางอ้อมต่อภาครัฐและเอกชน มีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์สมบัติโครงสร้าง เคมีกายภาพของคาร์โบไฮเดรตเชิงลึกเพื่อสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีฐานด้านเอนไซม์ย่อยแป้งเพื่อสนับสนุนการสร้างอาหารเพื่อสุขภาพ การดัดแปรแป้งมันสะปะหลังด้วยวิธีทางเคมีสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น

 

5. หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและชีววัสดุ Biodiversity and Biotechnological Resource Unit

        ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย และส่งเสริมการต่อยอดงานวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพ โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิวัฒนาการความหลากหลายทางชีวภาพและอนุกรมวิธานของจุลินทรีย์ ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน และนิเวศวิทยา ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาจุลินทรีย์อย่างเป็นระบบ (Systems Microbiology) อาทิ การพัฒนาระบบการทำงานของจุลินทรีย์ในการผลิตโปรตีนเป้าหมายโดยอาศัยการสร้างความสามารถด้าน bioinformatics, molecular biology และ synthetic biology เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ และการพัฒนากระบวนการผลิตโปรตีนเป้าหมายเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

มีศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย ที่ให้บริการชีววัสดุต่างๆ ได้แก่ จุลินทรีย์ พลาสมิด และแอนติบอดี ผ่านเว็ปไซต์ http://www.tbrcnetwork.org/ โดยมีจำนวนจุลินทรีย์ที่มีข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์สำหรับให้บริการมากกว่า 10,000 สายพันธุ์

 

6. ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์โพลิเมอร์ (Polymer Physic Laboratory)

        มีความเชี่ยวชาญด้าน Rheological and Mechanical Studies in Food Development  สามารถปรับแต่งคุณภาพเนื้อสัมผัสอาหารนั้น ทางห้องปฏิบัติการฟิสิกส์โพลิเมอร์ได้นำความเชี่ยวชาญด้านรีโอโลยีและสมบัติวิสโคอิลาสติก มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพหรือไขมันต่ำ ให้มีคุณภาพเนื้อสัมผัสไม่ต่างจากสูตรดั้งเดิม ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ มายองเนสปราศจากไขมัน ไส้กรอกไขมันต่ำ แป้งชุบทอดลดการอมน้ำมัน และขนมปังปราศจากกลูเต็น นอกจากนี้ทางห้องปฏิบัติการฟิสิกส์โพลิเมอร์ยังได้วางแผนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้สูงอายุและอาหารปรุงสุกพร้อมทาน ในอนาคต

 

7. ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพลาสติก (Plastic Technology Lab)

         มีความเชี่ยวชาญวิจัยพัฒนา และการให้บริการด้านเทคนิคโดยอาศัยความสามารถและความเชี่ยวชาญของบุคลากร การประยุกย์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างเหมาะสม ความพร้อมของเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์วิเคราะห์ สมบัติพื้นฐานของวัสดุ เพื่อสร้างฐานความรู้ และทักษะด้านการพัฒนาวัสดุและเทคโนโลยีในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกรูปแบบต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ขีดความสามารถและกิจกรรมของห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพลาสติก ประกอบด้วย 3 กลุ่มหลักได้แก่ กลุ่มพัฒนาและออกแบบผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก กลุ่มพลาสติกผสมและคอมพาวด์ กลุ่มเทคโนโลยีฟิล์มพลาสติกสําหรับบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรม

Back to Top Page

Food Firm

บริษัทเอกชนในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ได้แก่
 

1. บริษัท แอ๊ดวานซ์อาเชี่ยน จำกัด (Advance Asian Co.,Ltd.)

วิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจ ไม้ยืนต้น พืชพลังงาน เพื่อการพัฒนาผลผลิตเฉพาะให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรม และ เพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูก ด้วยงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในการคัดเลือกพันธุ์พืช ดำเนินโครงการวิจัยด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

 

2. บริษัท อาร์พีดี (ประเทศไทย) จำกัด (RPD (Thailand) Co.,Ltd.)

วิจัยและพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อและผลิตอาหารเลี้ยงเชื้อสำเร็จรูปสำหรับ ห้องปฏิบัติการ Microbiology (ready-to-use media for Microbiology) สำหรับทดสอบในอุตสาหกรรมอาหารและยา

 

3. บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด (Mitr Phol Innovation & Research Center)

วิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการไร่อ้อยที่ทันสมัย กระบวนการผลิตน้ำตาล และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพ พร้อมทั้งนำเสนอสินค้าและบริการสำหรับไลฟ์สไตล์

 

4.บริษัท ซันฟีด จำกัด (Sun Feed Co., Ltd.)

วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Sun Group ในกลุ่ม Feed, Farm, Food และอาหารแปรรูป

 

5.บริษัท เอ็มส์แลนด์ เอเชีย ฟู้ด อินโนเวชั่น คอร์ป จำกัด (Emsland Asia Food Innovation Corp Co., Ltd.)

วิจัยและพัฒนาแป้งมันฝรั่งเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และ application ใหม่ๆ โดยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยของรัฐ


6. บริษัท อินโนเฟรช จำกัด (InnoFresh Co., Ltd)

วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่ม Cold Sauce, Hot Sauce และ Dry Powder Mix

 

7. บริษัท ไบโอ ทอล์ค เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด (Bio Talk Technology (Thailand) Co., Ltd.)

วิจัยและพัฒนาระดับ Prototype และ Pilot Process กระบวนการประยุกต์ใช้ Enzyme ใน Application ต่างๆ ในอุตสาหกรรมอาหารคนและอาหารสัตว์

 

 
8. บริษัท กรีน อินโนเวทีฟ ไบโอเทคโนโลยี จำกัด (Green Innovative Biotechnology Co., Ltd.)

จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (GIB Advance Research & Development Center) สำหรับวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับจุลินทรีย์หรือสารส่งเสริมการเจริญเติบโตและกระตุ้นภูมิคุ้มกันแก่พืชและสัตว์ และรับจ้างวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต

 

9. บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด (CP Foodlab Co., Ltd.)

จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา และห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางด้านเชื้อจุลินทรีย์ ในผลิตภัณฑ์อาหาร

 

10. บริษัท สมาร์ท ไซเอนซ์ จำกัด (Smart Science Co., Ltd.)

วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

 

11.บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด (Thanakorn Vegetable Oil Products Co., Ltd.)

วิจัยและพัฒนาเพื่อการประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่เกี่ยวกับกากพืชน้ำมัน Lecithin และน้ำมันพืช


12. บริษัท มาลี แอพพลายด์ ไซเอ็นซ์ จำกัด (Malee Applied Science Co., Ltd.)

 วิจัยผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและทางการแพทย์

 

13. บริษัท ศูนย์สมาร์ทเทค จำกัด (Smart Tec Center Co., Ltd.)

ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา และทดสอบคุณภาพด้านอาหาร การเกษตร และปศุสัตว์

 

14. บริษัท ไทยโอซูก้า จำกัด (Thai Otsuka Pharmaceutical Co., Ltd.)

วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์

 

15. บริษัท คลีน กรีนเทค จำกัด (KLEAN Greentech Co., Ltd.)

วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ

 

16. บริษัท ยามาโมริ เทรดดิ้ง จำกัด (Yamamori Trading Co., Ltd.)

จัดตั้งศูนย์วิจัย Yamamori R&D Laboratory สำหรับวิจัยและพัฒนา ทดลองการผลิตระดับ Pilot Scaleและให้บริการทางด้าน Technical กลุ่ม Ready to eat และ Ready to cook ในผลิตภัณฑ์ Soy sauce, seasoning sauce, retort pouch food

 

17. บริษัท ซันโทรี่ เบฟเวอร์เรจ แอนด์ ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด (Suntory Beverage and Food (Thailand) Co., Ltd.)

วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม


18. บริษัท สวีท แอนด์ อินเว้นท์ จำกัด (Sweet and Invent Co., Ltd.)

วิจัยพัฒนาสูตร Flavour เพื่อการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และศึกษาสารสกัดจากผลไม้และสมุนไพรเพื่อพัฒนาเป็น Flavour

 

19. บริษัท อินเทล อะโกร จำกัด (Intel Agro Co., Ltd.)

พัฒนาระบบปลูกผักโดยใช้แสงประดิษฐ์และควบคุมสภาพแวดล้อม

 

20. บริษัท โซเอทิส (ประเทศไทย) จำกัด (Zoetis (Thailand) Limited)

ศูนย์บริการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีน ตรวจวิเคราะห์ทางแบคทีเรีย การทดสอบคุณภาพยาฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในสายธุรกิจเวชภัณฑ์สำหรับปศุสัตว์

 

21. บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด (CDIP (Thailand) Co.,Ltd)

ห้องปฏิบัติการ R&D สำหรับให้บริการ รับทำงานวิจัย / วิเคราะห์ทดสอบ /และรับจดทะเบียนอย. ในผลิตภัณฑ์ประเภท ยา, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, สมุนไพร และเครื่องสำอาง

 

22. บริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร จำกัด (Betagro Science Center Co.,Ltd.)

ศูนย์วิจัยพัฒนาของเครือเบทาโกร และ ให้บริการตรวจวิเคราะห์และเป็นห้องปฏิบัติการกลางเพื่อการทดสอบอาหารสัตว์ การเฝ้าระวังสุขภาพสัตว์ การวินิจฉัยโรคสัตว์ และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เพื่อการบริโภค

 

23. บริษัท อูเอโน ไซแอนซ์ เทค แลบอราทอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด (Ueno Science Tech Laboratory (Thailand), Ltd.)

วิจัยและพัฒนาสารประกอบในอาหารที่มีประโยชน์กับ สุขภาพ (Food for Health) และพัฒนา Food sanitation

 

24. บริษัท เวทโปรดักส์ รีเซิร์ช แอนด์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด (Vet Products Research and Innovation Center Co., Ltd.)

วิจัยและพัฒนา (R&D) ในกลุ่มเวชภัณฑ์สัตว์ อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์สารเสริมสัตว์ทุกชนิดและให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ

 

25. บริษัท ไบโอไซ (ไทยแลนด์) จำกัด (Biosci (Thailand) Co., Ltd.)

วิจัย ออกแบบ และพัฒนา software ที่เกี่ยวข้องกับระบบ BMS (Breeding Management System)

 

26. บริษัท เอ็กโคแล็บ จำกัด (ECOLAB Southeast Asia Regional Technical Center)

ร่วมวิจัยประยุกต์ด้าน Food Safety Hygiene, Sanitation & Cleaning Processing เพื่อลดการปนเปื้อนในกระบวนการผลิตในโรงงานและเป็นสถานที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

27. บริษัท ออสเตรียโนวา (ประเทศไทย) จำกัด (Austrianova (Thailand) Co., Ltd.)

วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการ Encapsulation Cell (Cell in the Box)

 

28. บริษัท ทูฟ ซูด (ประเทศไทย) จำกัด (TUV SUD (Thailand) Limited.)

ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ Food additives and ingredients, Seafood and meat, Drinks and beverages, Processed food และ Functional food เป็นต้น

 

29. บริษัท เกรทเทค ไซเบอร์เนติกส์ จำกัด (Greattech Cybernatics Co.,Ltd)

ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมืออัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรม

 

30. บริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จำกัด (Gravitechthai (Thailand) Co.,Ltd.)

วิจัยและพัฒนาออกแบบผลิตบอร์ด Microcontroller สำหรับทดลองเป็นบอร์ดต้นแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ และให้บริการออกแบบชิ้นงานต้นแบบเพื่อนำไปทำการวิจัยต่อยอดทางธุรกิจและประยุกต์ได้ในทุกอุตสาหกรรม

Back to Top Page

Food Network

รวบรวมบริการและการสนับสนุนสำหรับธุรกิจนวัตกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ได้แก่
 

1. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

        ให้บริการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตามความต้องการของประกอบการ มีนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์สามารถให้คำแนะนำตามหลักวิชาการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ตามกระบวนการศึกษาและค้นคว้าอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอย่างครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีการแยก การสกัด การทำให้เข้มข้น และการทำให้บริสุทธิ์ เทคโนโลยีการห่อหุ้มสารสำคัญสำหรับอาหารเพื่อสุขภาพ เทคโนโลยีการแปรรูปโดยการใช้ความดันสูง เทคโนโลยีการผสมและขึ้นรูป เทคโนโลยีการตรวจประเมินคุณภาพอาหารและวิทยาการผู้บริโภค เทคโนโลยีการบรรจุและโลจิสติกส์สำหรับห่วงโซ่การผลิตสินค้าอาหาร เทคโนโลยีการออกแบบเครื่องจักรและอุปกรณ์สัมผัสอาหารสำหรับระบบการผลิตอัตโนมัติซึ่งต้องเป็น hygienic design

 

2. สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

        ให้บริการตรวจวิเคราะห์ตามพระราชบัญญัติอาหาร กระทรวงสาธารณสุข จนได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นห้องปฏิบัติการซึ่งสามารถวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารเพื่อขึ้นทะเบียนได้ ปัจจุบันสามารถวิเคราะห์อาหารเพื่อขึ้นทะเบียนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขได้มากกว่า 25 ชนิด ให้บริการ การวิเคราะห์สารอาหาร การวิเคราะห์เพื่อทำฉลากโภชนาการทั้งไทยและต่างประเทศ การวิเคราะห์คุณสมบัติทางฟิสิกส์ การวิเคราะห์สารเจือปนและสารปนเปื้อนในอาหาร การวิเคราะห์จุลินทรีย์ในอาหารและการวิเคราะห์ทางชีววิทยา

 

3. ศูนย์วิจัยและบริการเทคโนโลยีการหมัก (Fermentation Technology Research & Service Center, FTC)

        ให้บริการขยายขนาดการผลิต (Upscaling) และ downstream processing ด้านการหมัก สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการตั้งแต่ระดับ OTOP, SME ไปจนถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ พร้อมให้บริการเป็นที่ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งรับบริการทำวิจัยที่ต้องใช้เทคโนโลยีการหมัก นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื่องจักรสำหรับการผลิตได้แก่ Fermenter และ Freeze dryer เป็นต้น

 

4. กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

        ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพอาหารด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์และประสาทสัมผัส ได้แก่ คุณภาพและความปลอดภัยด้านประสาทสัมผัสของอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร (Food Sensory Evaluation คุณภาพและองค์ประกอบของอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร และคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุเจือปนอาหารและสารเติมแต่ง

 

5. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

        ให้บริการวิจัยและพัฒนาครบวงจรแก่ภาคอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งแต่การพัฒนาสารสกัดหรือสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารและเสริมอาหาร การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรแปรรูปอาหาร จนถึงการขยายกำลังการผลิตระดับห้องปฏิบัติการสู่การผลิตเชิงพานิชย์

 

6. สถาบันอาหาร

        ให้บริการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหารทั้งในด้านการผลิตการพัฒนารูปแบบการปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพ มีบริการด้านการตรวจการวิเคราะห์การทดสอบและการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมอาหารแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร และให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการในการจัดตั้งระบบคุณภาพ HACCP


Back to Top Page
 

Auto Parts Innovation

     คลัสเตอร์นวัตกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ (Auto Parts Innovation Cluster - APIC) เป็นการรวมกลุ่มของหน่วยงาน ผู้มีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรม ทั้งภายในและภายนอกอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ไปใช้ตอบโจทย์ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน  เพิ่มขีดความสามารถ  และยกระดับศักยภาพในกระบวนการผลิตฯ ให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม

 
 
 
      

Auto Parts R&D Facilities   Read More

 
 
 
 
      

Auto Parts Firm   Read More

 
 
 
 
      

Auto Parts Network   Read More

 
 
 
 
      

Services & Supports   Read More

 

Auto Parts R&D Facilities

MTEC

NECTEC

PTEC
          ให้บริการทดสอบความเข้ากันได้ทางสนามแม่เหล็กไฟฟฟ้า ตามมาตรฐานกำหนด โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล ด้วยการทดสอบแบบมืออาชีพ บริการที่ปรึกษา ตรวจโรงงาน ขอการรับรองตามมาตรฐานสากล บริการสอบเทียบเครื่องมือทางด้าน RF Microwave และเครื่อง มือที่ใช้ในการทดสอบ EMC ปัจจุบันได้รับการรับรองห้องปฏิบัติการ สอบเทียบ ISO/IECL 17025:2005 จากสำนักงานมาตรฐาน อุตสาหกรรม

DECC
          บริการเป็นที่ปรึกษาทางด้าน Computer Aid Engineering (CAE) ในการวิเคราะห์ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขรวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในอุตสาหกรรม จัด ฝึกอบรมด้าน CAE

TUV SUD 
          ให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ และให้การรับรอง ด้านเคมีและวัสดุ เสียง ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า มาตรฐานความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC Standard) การติดไฟ อาหาร ก่อสร้าง ยานยนต์ โทรคมนาคม เป็นต้น

Auto Parts Testing Directory 
          Directory of Thailand Auto Parts Testing and Testing Equipment Services is the definitive guide to auto parts testing services in Thailand.

Thailand Automotive Institute 
          ให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้านข้อมูล การตรวจสอบ/ทดสอบผลิตภัณฑ์ การฝึกอบรมการพัฒนาและ รับรองทักษะฝีมือการทำงานและ อื่นๆ

บริการวิเคราะห์ทดสอบ MTEC 
          บริการวิเคราะห์ทดสอบ สมบัติต่าง ๆ ของวัสดุและผลิตภัณฑ์ให้แก่ภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบที่ทันสมัยมากกว่า 20 เทคนิค พร้อมด้วยบุคลากรที่มีความชำนาญ และวิธีการวิเคราะห์ทดสอบตามมาตรฐานสากล โดยลูกค้าสามารถนำผลการวิเคราะห์ทดสอบไปเป็นข้อมูลเบื้องต้น เพื่อใช้แก้ไขปัญหาข้อ บกพร่องของผลิตภัณฑ์ และปัญหาที่เกิดในกระบวนการผลิตต่อไปได้

Electrical and Electronic Institute 
          ศูนย์ปฏิบัติการและมาตรฐาน เป็นหน่วยงานให้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด และบริการตรวจคุณภาพโรงงานอุตสาหกรรม

Thai-German Institute 
          ศูนย์เครื่องจักรกลและระบบอัตโนมัติ ศูนย์แม่พิมพ์และเครื่องมือกล ศูนย์บำรุงรักษาและการจัดการอุตสาหกรรม ฝึกอบรมด้านเทคนิค ฝึกอบรมด้านการจัดการ

Auto Parts Firm

KEIHIN
          ออกแบบ วิเคราะห์ และทดสอบวัสดุภายในประเทศเพื่อใช้ทดแทนวัสดุที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของ KEIHIN ในประเทศไทย

SUMITOMO
          วิจัยและพัฒนาวัสดุที่เป็นยางธรรมชาติ เพื่ออุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์

AAPICO
          การวิจัยและพัฒนา Intelligent Transportation System

Mould Mate
          การวิจัยและพัฒนาล้อยางตีนตะขาบ และล้อยางตันสำหรับระบบ Logistics

TAISEI
         การวิจัยและพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องกลที่ใช้ Fine Metal Component

 

Automation, Robotics, and Intelligence Systems (ARI)

     ประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรอัตโนมัติ ถึง 7.89% ต่อปี และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการการสนับสนุนของภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0 การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอุปกรณ์อัจฉริยะ ต้องอาศัยการเชื่อมโยงของเทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญหลายด้าน รวมไปถึงการสนับสนุนในเชิงนโยบายจากภาครัฐที่ชัดเจนและต่อเนื่อง

inno graph image
 
inno diagram image
 

ข้อมูลจาก BOI

ทั้งนี้ “อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย” เป็นแหล่งรวบรวมผู้ให้บริการทางเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวเชียวชาญ การสนับสนุนภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานทางด้านนวัตกรรมที่สำคัญ และเหมาะสมในการเริ่มต้นพัฒนาอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอุปกรณ์อัจฉริยะ ให้เกิดขึ้นได้อย่างเข้มแข็งต่อไปในอนาคตอันใกล้

 
 
 
      

ARI R&D Facilities   Read More

 
 
 
 
      

ARI Firm   Read More

 
 
 
 
      

ARI Network   Read More

 
 
 
 
      

Services & Supports   Read More

 

ARI R&d Facilities

ARI Firm

Automation & Robotics

Sensor & Vision Systems

Equipment Design & Fabrication

  • ESS — Equity Services & Solutions
  • DECC — Design&Engineering Consulting Service Center

Cyber Security

Printed Electronics & Functionalized Graphene

Underwater Communication

Map & Geographic Information

Testing & Certification