News & Activities


6 กรกฏาคม 2566

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วม SPIF 2023 เพื่อยกระดับผู้ประกอบการเทคโนโลยีไทย และขยายโอกาสความร่วมมือธุรกิจนวัตกรรมของไทยสู่เวทีสากล

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วม SPIF 2023 เพื่อยกระดับผู้ประกอบการเทคโนโลยีไทย และขยายโอกาสความร่วมมือธุรกิจนวัตกรรมของไทยสู่เวทีสากล
เมื่อวันที่ 14-16 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา  ดร. เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เข้าร่วมงาน SCIENCEPARK INNOFAIR 2023 (SPIF 2023) ณ เมืองคยองจู สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งจัดโดย Asian Science Park Association (ASPA)1  งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนและแสวงหาโอกาสความร่วมมือระหว่างองค์กรและบริษัทต่างๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชีย
ในการนี้ ดร.เจนกฤษณ์ฯ ในฐานะตัวแทนของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยและเป็นวิทยากรในการบรรยาย “STP model for the development of future industry and STP’s role in the region” พร้อมร่วมเสวนา “The LEADERS Round Table Meeting” เรื่อง บทบาทหน้าที่ของ STPs และกระบวนการความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมกับส่วนภูมิภาคและการส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต พร้อมสร้างขยายเครือข่ายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับอุทยานวิทยาศาสตร์ต่างประเทศ สร้างเครือข่ายและขยายโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมของไทยไปในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยได้มีโอกาสขยายธุรกิจไปในต่างประเทศ และให้ผู้ประกอบการต่างประเทศได้รับรู้ถึงศักยภาพในด้านโครงสร้างพื้นฐานวิจัยที่มีมาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่กระตุ้นและส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติในไทย
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วม SPIF 2023 เพื่อยกระดับผู้ประกอบการเทคโนโลยีไทย และขยายโอกาสความร่วมมือธุรกิจนวัตกรรมของไทยสู่เวทีสากล
ส่วนหนึ่งของการบรรยาย ดร.เจนกฤษณ์ฯ ได้กล่าวถึง Thailand 4.0 ที่มี 10 อุตสาหกรรมมุ่งเน้น ประกอบด้วย Agriculture and Biotechnology, Food for the Future, Smart Electronics, Next Generation Automotive, Affluent Medical and Wellness Tourism Biofuel and Biochemicals, Medical Hub, Automation and Robotics, Aviation and Logistics และ Digital Economy ซึ่งขนานไปกับ Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG Economy Model ซึ่งไม่ได้เน้นเพียงแค่การเติบโตด้านเศรษฐกิจ (Economic Growth) เท่านั้น แต่แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน (Inclusive growth) และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Green Growth) ด้วย
ภายในงาน ดร.เจนกฤษณ์ฯ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “สวทช. ในฐานะของการเป็นผู้กำกับดูแลอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Science Park) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ปาร์คแห่งประเทศไทย (Software Park Thailand) เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation) และเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) มีบทบาทในการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีทุกขนาด ตั้งแต่สตาร์ทอัพไปจนถึงผู้ประกอบการรายใหญ่และต่างชาติ การที่ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีจะประสบความสำเร็จได้นั้นควรเน้นเรื่องความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งรัฐและเอกชนภายในประเทศที่จะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีและมีความต่อเนื่อง ความเชื่อใจและความเชื่อมั่นในแต่ละหน่วยงานภาครัฐ ในขณะเดียวกันอุทยานวิทยาศาสตร์ก็ต้องทำหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการดังกล่าวให้เติบโตด้วยการเป็นประตูบานแรกในการสร้างโอกาสและความร่วมมือกับเครือข่ายต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการรวมถึงนักวิจัยในประเทศสามารถขยายตลาดและแลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถทั้งในด้านธุรกิจและเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมเติบโตอย่างยั่งยืน”
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วม SPIF 2023 เพื่อยกระดับผู้ประกอบการเทคโนโลยีไทย และขยายโอกาสความร่วมมือธุรกิจนวัตกรรมของไทยสู่เวทีสากล
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วม SPIF 2023 เพื่อยกระดับผู้ประกอบการเทคโนโลยีไทย และขยายโอกาสความร่วมมือธุรกิจนวัตกรรมของไทยสู่เวทีสากล
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วม SPIF 2023 เพื่อยกระดับผู้ประกอบการเทคโนโลยีไทย และขยายโอกาสความร่วมมือธุรกิจนวัตกรรมของไทยสู่เวทีสากล
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วม SPIF 2023 เพื่อยกระดับผู้ประกอบการเทคโนโลยีไทย และขยายโอกาสความร่วมมือธุรกิจนวัตกรรมของไทยสู่เวทีสากล

1Asian Science Park Association (ASPA) หน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมนวัตกรรมและพัฒนาโครงสร้างในองค์กรอุทยานวิทยาศาสตร์ในอาเซียน http://aspa.or.kr/