News & Activities


25 ธันวาคม 2561

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยพา 2 บริษัทวิจัยไทยคว้า 3 รางวัลนวัตกรรมระดับโลก ในงาน Seoul International Invention Fair 2018 (SIIF 2018)

น.สพ.สนัด วงศ์ทวีทอง

          น.สพ.สนัด วงศ์ทวีทอง รองผู้อำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (อวท.) ได้ส่งตัวแทนบริษัทเอกชนจาก อวท. เข้าร่วมงาน Seoul International Invention Fair 2018 (SIIF 2018) ในวันที่ 6-9 ธันวาคม 2561 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี สำหรับงานดังกล่าว อวท. ได้คัดเลือกผลงานเด่นจากบริษัทเอกชนที่อยู่ในนิคมวิจัยแห่งนี้กว่า 90 บริษัท จนได้ 3 ผลงานจาก 2 บริษัท คือ รองผู้อำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (อวท.) ได้ส่งตัวแทนบริษัทเอกชนจาก อวท. เข้าร่วมงาน

 

                                                 1. บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ส่งผลงานเข้าประกวด 2 ผลงานคือ 

Gold Prize Gold Prize

 

         ผลงานการพัฒนาสารออกฤทธิ์เข้มข้นสูงจากตรีผลาด้วยกระบวนการสกัดสีเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก  หรือที่รู้จักกันดีภายใต้แบรนด์ SALZ ตรีผลา คว้ารางวัล Gold Prize โดยตรีผลาประกอบด้วยผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ สมอพิเภก สมอไทยและมะขามป้อม ทำให้มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบรวมถึงมีฤทธิ์ในการสมานแผล จนได้สารสกัดสมุนไพรจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพต่อช่องปาก อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมเกษตรกรในการปลูกพืชสมุนไพร ลดการใช้และนำเข้าสารจากต่างประเทศ 

Bronze Prize Bronze Prize

 

         ผลงานวิจัยเกี่ยวกับสารนาโนเอนแคปซูเลชั่นปราศจากตัวทำละลายอินทรีย์ระเหยง่ายด้วยกระบวนการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  เพื่อประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง คว้ารางวัล Bronze Prize เป็นสารที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่มีสารอันตรายตกค้างในร่างกายและแหล่งชุมชน เนื่องจากสามารถย่อยสลายได้และผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาที่ไม่แพง นอกจากนี้กระบวนการผลิตไม่ต้องใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ระเหยง่าย ทำให้ลดต้นทุนในด้านการผลิตและการจัดการของเสีย แต่สินค้ากลับมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จึงสร้างมูลค่าและผลตอบแทนสูง และที่สำคัญช่วยลดการนำเข้าสารที่มีประสิทธิภาพสูงจากต่างประเทศที่มีราคาแพง 

Bronze Prize Bronze Prize

 

         2. บริษัท ศูนย์สมาร์ทเทค จำกัด  ส่งผลงาน GlyiTEC (ไกลซีเทค) กรรมวิธีการเตรียมสารประกอบทองแดง สังกะสีและแมงกานีส คีเลตของกรดอะมิโน คว้ารางวัล Bronze Prize ช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์สามารถใช้แร่ธาตุคีเลตอินทรีย์ ซึ่งทดแทนแร่ธาตุคีเลตอนินทรย์ได้ดี สามารถประยุกต์ใช้ในหลายรูปแบบทั้งละลายน้ำและผสมอาหารให้สัตว์กิน  


         น.สพ.สนัดฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการคัดเลือกผลงานเพื่อส่งเข้าประกวดในปีนี้ ไม่ง่ายเลย เพราะ อวท. มีบริษัทฯ ทำวิจัยในนี้ 90 บริษัทฯ แต่ละบริษัทก็มีผลงานวิจัยที่น่าสนใจไม่แพ้กัน และในปีนี้เรามีแผนที่จะส่งผลงานเข้าประกวดในระดับนานาติอีกหลายงาน อวท.ไม่ใช่เพียงแค่การมีพื้นที่ให้เอกชนเข้ามาทำกิจกรรมวิจัยเท่านั้น แต่ภารกิจหลักของเรา คือ การผลักดันผลงานวิจัย นวัตกรรมต่างๆ ของภาคเอกชนไปสู่เวทีโลกให้ได้ เพราะฉะนั้นการเข้ามาอยู่ในนิคมวิจัยแห่งนี้ไม่ใช่แค่การทำงานวิจัยให้สำเร็จเป็นผลงานวิจัยเท่านั้น แต่ยังเป็นที่สำหรับการให้โอกาสกับงานวิจัยภาคเอกชนได้ไปยืนอยู่ในเวทีระดับนานาชาติอีกด้วย ซึ่งงานนี้ก็เป็นบทพิสูจน์ได้ดีว่า บริษัทวิจัยในไทยมีศักยภาพมากแค่ไหน
         การทำงานของ อวท. เราทำงานเป็นเครือข่าย สำหรับงานในครั้งนี้ ต้องขอบคุณ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่เป็นแม่งาน สิ่งสำคัญของการมาประกวดงานนวัตกรรมระดับโลก ผมมองว่าไม่ใช่แค่มาเพื่อล่ารางวัล แต่มันคือการมาเพื่อโอกาสทางธุรกิจที่จะตามมา ซึ่งในงานนี้ก็มีนักลงทุนที่สนใจพูดคุยในการร่วมทำธุรกิจกับนวัตกรรมบางตัว