News & Activities


22 มีนาคม 2567

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเปิดตัวอาคารทดสอบประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในรูปแบบเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเปิดตัวอาคารทดสอบประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในรูปแบบเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จับมือภาคเอกชน ศูนย์วิจัย ENTEC และ NECTEC เปิด “อาคารประเมินประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งแบบเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร (Buidling Integratec Photovoltaic, BIPV) ที่ติดตั้งใช้งานในประเทศไทยเป็นแห่งแรก” และได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. มาเป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมคณะผู้บริหารจากศูนย์วิจัยทั้ง 2 ศูนย์ และภาคเอกชน Dr. Akihiko Nakajima, Senior Manager คาเนกะ คอร์ปอเรชั่น Mr. Tatsuya Sugawara, Managing Executive Officer ไทยเซอิ คอร์ปอเรชั่น
ศ.ดร.ชูกิจฯ กล่าวว่า “ภารกิจหลักของ สวทช. คือ การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา ทั้งในด้านการออกแบบและวิศวกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีได้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านวิจัยและพัฒนาในการทำธุรกิจนวัตกรรม โครงการดังกล่าวฯ สอดคล้องกับนโยบาย BCG Economy มุ่งมั่นสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาที่ส่งเสริมความยั่งยืน อาคารต้นแบบ “BIPV Solar House Building”เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการให้ความสำคัญของพลังงานหมุนเวียน”
การประเมินแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งในรูปแบบผสมผสานกับอาคาร ได้รับเงินสนับสนุนภายใต้โครงการสนับสนุนเงินทุนสาธิตเทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมปี 2021 จากกระทรวงสิ่งแวดล้อม รัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งมอบเงินทุนสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วม เพื่อให้เกิดการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันในทางนวัตกรรมระหว่างญี่ปุ่นและไทย จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่าง คาเนกะ คอร์ปอเรชั่น และไทเซอิ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่นและบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) พันธมิตรของ สวทช. จนเกิดเป็นโครงการนี้
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินผลการผลิตไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในรูปแบบร่วมกับอาคารสิ่งปลูกสร้าง ปัจจุบันการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์นิยมติดตั้งบนหลังคาในอาคาร นับเป็นอีกก้าวของเซลล์แสงอาทิตย์ จากเดิมที่มีการติดตั้งบนหลังคา ก็จะมีการติดตั้งในแบบผสมผสานเข้ากับงานสถาปัตยกรรม การติดตั้งแบบ BIPV เป็นการศึกษาและเปรียบเทียบผลการผลิตไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีความต่างเทคโนโลยี ที่ติดตั้งในรูปแบบ BIPV แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการออกแบบระบบ BIPV สำหรับใช้ติดตั้งบนผนังอาคารในประเทศไทยในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Dr. Akihiko Nakajimaฯ กล่าวว่า “บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจในด้านการสร้าง PV แบบบูรณาการเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ เราได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในประชาคมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยได้เพราะการทำงานร่วมกันกับนักวิจัยจากศูนย์วิจัยแห่งชาติ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนา BIPV ของเรา จนทำให้โครงการนี้แล้วเสร็จ”
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นนิคมวิจัยที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการภาคเอกชน ดังนั้น การเปิดอาคารทดสอบประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในรูปแบบเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร รวมถึงงานนวัตกรรมในด้านอื่นๆ สามารถใช้พื้นที่ในนิคมวิจัยของเราในการเป็นจุดเริ่มต้น ทดลอง ทดสอบ เรียกได้ว่าเป็น Living lab ให้กับภาคเอกชน
สำหรับเอกชนที่สนใจติดต่อสอบถาม เยี่ยมชมอาคารแห่งนี้ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในอุทยานฯ ได้ที่ ikd@nstda.or.th
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเปิดตัวอาคารทดสอบประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในรูปแบบเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเปิดตัวอาคารทดสอบประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในรูปแบบเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเปิดตัวอาคารทดสอบประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในรูปแบบเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเปิดตัวอาคารทดสอบประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในรูปแบบเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเปิดตัวอาคารทดสอบประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในรูปแบบเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเปิดตัวอาคารทดสอบประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในรูปแบบเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร