Funding & Investment

หน่วยงานที่ประกาศ:
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
วันที่ลงประกาศ:
25 ธันวาคม 2566
รายละเอียด:
การรับข้อเสนอโครงการด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization) ประจำปีงบประมาณ 2567 (รอบที่ 1)
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) เปิดรับข้อเสนอโครงการด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization) ประจำปีงบประมาณ 2567 (รอบที่ 1)
วัตถุประสงค์
เพื่อสนับสนุนการนำ ผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพของไทยไปใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์ และสังคม รวมถึงการผลักดันเชิงนโยบาย ตามเป้าหมายและผลลัพธ์ของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ. 2566-2570 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 (S1) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุ ณค่ าและ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้ มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย และนวัตกรรม
กรอบการสนับสนุนโครงการ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 (S1): การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่ าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้ มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม
  • แผนงาน P1 (S1): พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านการแพทย์และสุขภาพ ให้ เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่ าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ
เป้าหมาย
  • O1 P1: ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสำคัญของอาเซียนสำ หรับวัคซีน ยา สารสกัดสมุนไพร และ วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง รวมถึงผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) รวมถึงชีววัตถุ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดการนำ เข้า และสามารถส่งออกได้ โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • O2 P1: ประเทศไทยสามารถยกระดับในการให้ บริการจีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำ สามารถให้ บริการโดยโรงพยาบาลในประเทศได้อย่างแพร่หลาย โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามแนวทางระบบเศรษฐกิจ BCG
แผนงานสำคัญตามจุดมุ่งเน้นของนโยบาย (Flagship)
F2 (S1P1): พัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products;ATMPs) รวมถึงชีววัตถุที่เกี่ยวข้อง และวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่เป็นนวัตกรรมระดับสูงและมูลค่าสูงให้เป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน
ขอบเขตงานที่สนับสนุน
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results) ระดับผลลัพธ์
  1. สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการพัฒนาตามกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และได้รับการรับรองทะเบียนผลิตภัณฑ์มาเรียบร้อยแล้ว ให้สามารถขยายผลสู่ตลาด โดยเน้นทั้งตลาดภาครัฐ ภาคธุรกิจ และต่างประเทศ
KR6 P1: จำนวนวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงที่เป็นนวัตกรรมระดับสูงและมูลค่าสูง มีคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากลและจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น หรือสามารถทดแทนการนำเข้าโดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (25 รายการ ในช่วงปี 2566 - 2570)
ผู้ประสานงาน
  1. น.ส. สิริภัทร สุมนาพันธุ์ โทรศัพท์: 0 2644 5499 ต่อ 128 Email: siripat@tcels.or.th
  2. นายพีรภัทร พลเยี่ยม โทรศัพท์: 0 2644 5499 ต่อ 109 Email: peerapat@tcels.or.th
แผนงานย่อย (Non Flagship)
N1 (S1P1): การสร้างความสามารถและยกระดับการให้บริการโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำเพื่อให้เกิดบริการการรักษาที่มีความแม่นยำสูง
ขอบเขตงานที่สนับสนุน
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results) ระดับผลลัพธ์
  1. สนับสนุนการขยายผลของงานบริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์ การแพทย์แม่นยำ หรือบริการตรวจวินิจฉัยข้อมูลชีวสารสนเทศทางการแพทย์จีโนมิกส์
KR4 P1: ประทศไทยมีการให้บริการการแพทย์จีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำเพิ่มขึ้น 10 รายการ (ใน 5 ปี พ.ศ. 2566-2570)
ผู้ประสานงาน
  1. ดร. ทัตพร คงครองทอง โทรศัพท์: 0 2644 5499 ต่อ 143 Email: tatphon@tcels.or.th
แผนงานย่อย (Non Flagship)
N2 (S1P1): การพัฒนาและผลิตยา สารสกัดจากสมุนไพร ที่มีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐาน
ขอบเขตงานที่สนับสนุน
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results) ระดับผลลัพธ์
  1. สนับสนุนกลุ่มนวัตกรรมสารสกัดสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง* ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เช่น ทะเบียน อย. หรือเทียบเท่า ให้มีความพร้อมในการวางจำหน่ายและออกสู่ตลาดได้
  2. ยกระดับกลุ่มนวัตกรรมสารสกัดสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง"ให้สามารถขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ
  3. สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย/มาตรการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสมุนไพร สู่การปฏิบัติใช้
หมายเหตุ: *ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ประกอบด้วย 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ผลิตภัณฑ์ตามคำนิยามของพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ได้แก่ กลุ่ม ข. ยาพัฒนาจากสมุนไพร ประกอบด้วย ยาจากสมุนไพรที่วิจัยพัฒนา (ข.3) ยาจากสมุนไพรใหม่ (ข.4) และกลุ่ม ค. ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพที่อ้างอิงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (ค.3) เวชสำอางสมุนไพร (ค.4) และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ โภชนเภสัชภัณฑ์ (Nutraceuticals) และเครื่องสำอาง ที่มีนวัตกรรมโดดเด่น พัฒนาจากสารสกัดธรรมชาติ/สมุนไพร ที่มีผลทดสอบทางคลินิกตามมาตรฐาน ICH-GCP เพื่อเตรียมขยายตลาดต่างประเทศ
KR5 P1: มูลค่าการขาย สารสกัดสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่พัฒนาและผลิตในประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (1,000 ล้านบาท ในช่วง 2566 - 2570)
ผู้ประสานงาน
  1. น.ส. พัทธมน ธาราพรรค์ โทรศัพท์: 0 2644 5499 ต่อ 220 Email: pattamon@tcels.or.th
  2. น.ส. จิราพรรณ น้ำสา โทรศัพท์: 0 2644 5499 ต่อ 217 Email: jiraphan@tcels.or.th
การยื่นข้อเสนอโครงการ
  • ผู้ขอรับทุนจัดทำ ข้อเสนอโครงการ โดยใช้แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ ของ ศลช. โดยสามารถดาวน์โหลดได้ จากเว็บไซต์ www.tcels.or.th
  • ผู้ขอรับทุนยื่นข้อเสนอโครงการผ่านระบบ NRIIS เว็บไซต์ www.nriis.go.th และกรอกข้อมูลในแบบข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่ ศลช. กำ หนด พร้อมทั้งแนบเอกสารในรูปแบบไฟล์ word และ pdf ในระบบ NRIIS
กำหนดการที่สำคัญ
  • เปิดรับข้อเสนอโครงการ ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เวลา 17.00 น.
  • ประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอโครงการ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 โดย ศลช. จะประกาศผลการคัดเลือกทางเว็บไซต์ ศลช. www.tcels.or.th เท่านั้น
หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
ระยะเวลาการเปิดรับทุน:
ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เวลา 17.00 น.
วิธีการยื่นขอทุน:
ยื่นข้อเสนอฯ ผ่านระบบ NRIIS
สอบถามเพิ่มเติ่ม:
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tcels.or.th/News/Coming-Soon/Activity-News/3786