News & Activities


1 ธันวาคม 2566

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี
เมื่อวันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะตัวแทนของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยและเป็นวิทยากรบรรยายงานประชุมประจำปี The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ณ เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ซึ่งจัดขึ้นโดย Asian Science Park Association (ASPA) ร่วมกับ Teknopark Istanbul ภายใต้ธีม “Connecting Asian Science and Technology Parks Through the Silk Road Model” ซึ่งผู้จัดงานมีความประสงค์จะกระตุ้นความร่วมมือและถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดแนวเส้นทางสายไหม (Silk Road) ในอดีต งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนเครือข่ายสมาชิกอุทยานวิทยาศาสตร์ องค์กรรัฐ และเอกชน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยี วัฒนธรรม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชีย
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี
ดร.เจนกฤษณ์ฯ กล่าวว่า ประเทศไทยมีอุทยานวิทยาศาสตร์ 8 แห่ง ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย Food Innopolis, เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi), เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย(Software Park Thailand) และอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (Regional Science Park) 4 แห่ง รวมถึงมีการจัดตั้งสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ และอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai BISPA) โดยทั้งหมดต่างทำงานอย่างเป็นอิสระแต่สามารถบูรณาการร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดย ASPA มีแนวทางในการขับเคลื่อนอุทยานวิทยาศาสตร์ไปสู่ความยั่งยืน “Driven for sustainability” ผ่านการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างอุทยานวิทยาศาสตร์ ด้วยการใช้ประโยชน์ของ Twin transitions โดยการนำ Digital transition และ Green Transition เพื่อนำไปสู่ Sustainability Transition และใช้ประโยชน์กับข้อมูลที่ได้มาได้อย่างสูงสุด และให้คำนึงถึงความท้าทายที่สำคัญ 3 ประการคือ
  1. Technological Innovation: เปิดรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นและเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลและด้านความยั่งยืน
  2. Talent Development: การเสริมทักษะเพื่อปิดช่องว่าง (Skills gap) ให้กับกำลังคน ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ
  3. Inclusive Innovation: คือการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การพัฒนาไปพร้อมๆกัน เป็นเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STP) ในรุ่นต่อๆไปต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงทาง Twin transition และขับเคลื่อนนวัตรรมทางสังคม สร้างโอกาสในความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อรับกับความท้าทายในอนาคต
ดร.เจนกฤษณ์ฯ ได้กล่าวว่าทิ้งท้ายว่า การร่วมงานกันด้วยการบูรณาการระหว่างอุทยานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งสำคัญในโลกปัจจุบัน คำว่า “Open Innovation” เป็นบรรทัดฐานของทุกแห่ง ด้วยทฤษฏีของปลาเร็วกินปลาช้า “Fast fish is eating slow fish” การปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก (Global supply-chain) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องด้วยภูมิศาสตร์การเมือง (Geopolitics) ในส่วนของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และการเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green movement) ยังคงอยู่ในเทรนด์ที่สำคัญเช่นกัน ทั้งนี้ การรวมตัวกันระหว่างอุทยานวิทยาศาสตร์สามารถผนึกกำลังกันเพื่อจัดการกับปัญหาระดับมหภาคสำหรับประชาชนในปัจจุบันและรุ่นต่อไป เช่น ปัญหาการระบาดใหญ่ในอนาคต, ปัญหาการเข้าถึง Twin transition (Digital transition + Green transition), ปัญหาโลกเดือด (Global boiling) รวมถึงการบรรลุเป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติ
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เข้าร่วมบรรยายในงาน The 26th Asian Science Park Association Annual Conference ประเทศตุรกี