News & Activities


25 เมษายน 2555

การสัมมนาในหัวข้อก้าวสู่ตลาดโลกด้วย “ CE Mark”

อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ทูฟ ซูด พีเอสบี (ประเทศไทย) จำกัด ขอเชิญท่านร่วมงาน

สัมมนา “ก้าวสู่ตลาดโลกด้วย CE Mark”

ในวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์ไบเทคบางนา Room MR 215
 

กำหนดการของงานสัมมนา

13.00-13.30 ลงทะเบียน

13.30-15.30 สัมมนา ในหัวข้อ “สู่ตลาดโลกด้วย CE Mark: มาตรฐาน CE Mark สำคัญ อย่างไร และจะทำอย่างไรให้ได้ CE Mark”

15.30-16.00 Q&A


          คุณรู้หรือไม่!!! กว่า 70% ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทยที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรป ต้องได้รับมาตรฐาน CE Mark ไม่ว่าจะเป็น ของเล่น เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคล อุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ลิฟต์ เครื่องชั่งน้ำหนักที่ไม่ใช่ระบบอัตโนมัติ หม้อน้ำร้อน วิทยุและอุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์ในการวัดต่างๆ

CE Mark สำคัญอย่างไร?

          CE Mark หรือ Conformite European Mark เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าสินค้าอุตสาหกรรมที่จำหน่ายในสหภาพยุโรป (European Union: EU) ทั้งสินค้านำเข้าและสินค้าที่ผลิตใน EU มีการออกแบบและการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามระเบียบข้อบังคับที่ EU กำหนดทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคใน EU ถึงความปลอดภัยในการใช้สินค้าและลดผลกระทบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ ที่ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานของเครื่องจักร ก็มักจะอ้างถึงข้อกำหนดของ CE Marking มาใช้ในการประเมินสินค้าว่ามีมาตรฐาน

          CE Marking มาจากข้อกำหนดของสหภาพยุโรปที่เรียกว่า EU Directives แต่ไม่ใช่ว่าสินค้าทุกประเภทจะสามารถแสดงเครื่องหมาย CE Marking ได้ เพราะที่จริงแล้ว ข้อกำหนดของ CE Marking เกี่ยวข้องกับ Directives บางรายการเท่านั้น สำหรับเครื่องจักรมีข้อกำหนดเบื้องต้นทื่เกี่ยวข้องดังนี้

- 2006/42/EC ข้อกำหนดทางด้านความปลอดภัยของเครื่องจักร

- 2006/95/EC ข้อกำหนดทางด้านความปลอดภัยทางไฟฟ้า (เฉพาะเครื่องจักรที่มีอุปกรณ์ - ไฟฟ้า)

- 2004/108/EC ข้อกำหนดทางด้านความเข้ากันได้ทางสนามแม่เหล็ก (การรบกวนคลื่นวิทยุเฉพาะเครื่องจักรที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์

           ข้อกำหนดดังกล่าวพูดถึงข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องสำหรับการประเมินความสอดคล้องตามข้อกำหนดของเครื่องจักรเท่านั้น แต่ในการตรวจสอบหรือทดสอบในทางปฏิบัตินั้น จะต้องดำเนินการตามมาตรฐานที่เรียกว่า Harmonized Standards ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวยังแบ่งออกเป็นหลายระดับที่เรียกว่า Type A, Type B หรือ Type C

          ในการสัมนาครั้งนี้ นอกเหนือจากการแนะนำข้อกำหนดของ EU Directives ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรแล้ว ยังจะกล่าวถึงข้อกำหนดของมาตรฐานบางส่วนที่น่าจะมีความสำคัญต่อการออกแบบเครื่องจักรให้เป็นไปตามข้อกำหนด โดยการสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณบรรเจิด กัจฉมาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐาน CE Mark จาก บริษัท ทูฟ ซูด พีเอสบี (ประเทศไทย) จำกัด


สนใจลงทะเบียน (ไม่มีค่าใช้จ่าย) กรุณากรอกแบบฟอร์ม ที่นี่

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ คุณกอขวัญ ขวัญบุญ

โทร. 02-564 7222 Email: korkwan@tmc.nstda.or.th