Testimonials


BGC

Dr_Orntida_image
BGC หรือ บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือที่อาจจะคุ้นกันในชื่อ “บางกอกกลาส” ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์ครบวงจร ได้แก่ บรรจุภัณฑ์แก้ว กล่องกระดาษลูกฟูก บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดแข็ง บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน และฉลากสินค้า โดยบริษัทเริ่มก่อตั้งโรงงานแก้วแห่งแรกในปี พ.ศ. 2517 ก่อนจะขยายธุรกิจไปยังบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่นๆ เพื่อตอบวิสัยทัศน์ของการเป็น Total Packaging Solutions
ดร.อรธิดา แซ่โค้ว ผู้จัดการ Technology and Innovation Center (TIC) ของ BGC เล่าว่า จากวิสัยทัศน์ Total packaging solutions ของ BGC ทำให้ศูนย์ TIC เน้นที่ 3 กลุ่มวิจัย ได้แก่
  • Material technology development เป็นกลุ่มที่ทำเกี่ยวกับ products ในกลุ่มแก้วและพลาสติกเราจะเน้นทำให้แก้วแข็งแรงขึ้น เบาลง เพื่อลดในเรื่องของพลังงานและค่าขนส่ง สำหรับกล่องเราเป็นธุรกิจกลางน้ำ เราซื้อกระดาษมาทำเป็นลัง เป็นกล่อง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราพัฒนาได้ก็อาจจะเป็นเรื่องของการพัฒนากาว หรือทำให้กระดาษแข็งแรงขึ้นแต่ยังคงใช้ปริมาณเท่าเดิมหรือน้อยลงยิ่งดี กลุ่มงานพลาสติก จะมีทั้งขวดและฟิล์ม ฝา ถุงขนม ในกลุ่มนี้มีการพัฒนาได้หลากหลาย ทั้งในเรื่องของการลดพลาสติก ทำให้รีไซเคิลได้ ย่อยสลาย และทำอย่างไรให้พลาสติกช่วยยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ข้างใน
  • Automation technology เป็นกลุ่มที่ทำเกี่ยวกับ process, automation เราเน้นเรื่องของการตรวจ defect ของขวดแก้ว เป็นเทคโนโลยีในกลุ่มของ visual inspection, image processing กลุ่มนี้จะเน้นเรื่องการตรวจคุณภาพ แทนที่จะใช้คนในการตรวจวัด อีกเรื่องที่เราทำก็คือ การวัดปริมาณแก๊สที่อยู่ในระบบการหลอมของแก้ว ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการลดพลังงาน เราก็ทำในเรื่องของเซ็นเซอร์ในการวัดแก๊สที่อยู่ในเตาหลอมที่มีอุณหภูมิสูง เตาหลอมเราอุณหภูมิประมาณ 1,500-1,600 องศา เพราะฉะนั้นเซ็นเซอร์ก็ต้องทนต่ออุณหภูมิที่สูงได้เช่นกัน
  • Sustainabilityเน้นในเรื่องของพลังงานและสิ่งแวดล้อม และ waste ต่างๆ เราโฟกัสเรื่อง waste เป็นหลักก่อน waste ของโรงงานกลุ่มแก้ว คือ การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เยอะ เราจะเอาตรงนั้นมาทำอะไรได้บ้าง ซึ่งก็ได้มีการพูดคุยและร่วมกันทำโปรเจคกับไบโอเทค สวทช. และอีกโปรเจคที่เรากำลังมองหาพาร์ทเนอร์อยู่ เนื่องจากเรามีเศษกากตะกอนแก้ว เป็นเศษแก้วเล็กๆ แต่ละปีเยอะมาก ต้องจ้างบริษัทกำจัด เราจึงกำลังศึกษาวิธีจัดการให้นำกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น
เดิมเรามี R&D Centre อยู่ที่สำนักงานใหญ่ แต่บริษัทได้เปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำงานวิจัยใหม่ เพราะเริ่มมีธุรกิจที่หลากหลาย จึงเริ่มหันมาเน้นที่กล่องและพลาสติกมากขึ้น ดังนั้นเราจะคิดและทำคนเดียวแบบตอนที่เราเน้นแต่เรื่องแก้วก็ไม่ได้แล้ว
BGC_Dr_Orntida_2
“เราต้องใช้แนวคิดแบบ Open Innovation ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายงานวิจัยร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย ซึ่งเรามีโจทย์เยอะมากทั้งกระบวนการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ และเราทำเองคนเดียวไม่ได้ ถึงเราจะมีคนมากแค่ไหนก็ไม่พอ เราต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้นๆ มาช่วยธุรกิจเรา และพบว่าที่ อวท. ตอบโจทย์เราที่สุดแล้ว เพราะมีศูนย์วิจัยแห่งชาติรวมกันอยู่ตรงนี้ รวมถึงบริษัทเอกชน ทำให้เราได้รู้ว่ามีงานวิจัยที่หลากหลายกว่าตอนที่เรายังไม่มาตั้งที่นี่”
ที่สำคัญที่ อวท. มี Account Manager ที่คอยดูแลช่วยเหลือเราได้เยอะ ติดขัดอะไรตรงไหนก็โทรศัพท์หาได้เลย รวดเร็วและง่ายมาก การได้มาอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับนักวิจัยมันดีกว่า การได้พูดคุยปรึกษาแบบออนไลน์กับ face-to-face มันต่างกันเยอะ แล้วถ้าเราไม่ได้มาอยู่ในนี้ กว่าเราจะติดต่อศูนย์วิจัยหรือนักวิจัยที่ใช่ มันก็ต้องใช้เวลา ซึ่ง Account Manager นี่แหละเป็น shortcut เลย สิ่งนี้ BGC ประทับใจค่ะ
อีกประเด็นคือ ใน อวท. มีเครื่องมือให้เราได้ใช้เยอะ บริษัทก็ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องมือเอง เช่นที่ผ่านมาเราก็ทำวิเคราะห์ทดสอบร่วมกับนาโนเทค และใน อวท. ก็มีบริษัทที่ทำเกี่ยวกับเครื่องมืออื่นๆ ด้วย ก็ยิ่งเป็นผลดีกับเรามากขึ้นอีก
สำหรับแนวโน้มหรือเทรนด์เทคโนโลยีที่ BGC ให้ความสำคัญขณะนี้ จะเป็นเรื่อง sustainability ที่เริ่มกระทบกับทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ packaging ยิ่งกระทบมาก เพราะเราใช้มันทุกวัน ทิ้งทุกวัน เรื่องนี้ตอนนี้มันเป็นเรื่องที่ต้องทำแล้ว เรียกว่าข้อบังคับเลยก็ว่าได้ และเป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจด้วย อีกเทรนด์ที่เกี่ยวกับเรา คือ ageing society ที่จะมีลักษณะการใช้ การดื่ม การทาน ที่แตกต่างไปจากคนอายุน้อย เราต้องปรับในส่วนนี้ เช่น ทำยังไงให้เปิดง่ายขึ้น ทำให้มีหลากหลายขนาดหรือเก็บได้นานมากขึ้น เทรนด์เรื่อง e-commerce ทุกวันนี้เราสั่งของออนไลน์กันมากขึ้น ก็หนีไม่พ้นที่ต้องใช้ packaging อีกเทรนด์ที่มาแรง คือ เรื่องของ AI เราดูอยู่ว่ามันมีอะไรที่จะมาแทนที่คนและได้ประสิทธิผลที่ดีกว่า
สนใจมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งหรือใช้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ติดต่อที่ CONNEX: ศูนย์เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสู่ภาคธุรกิจ
โทร. 0-2564-7200 ต่อ 71950 หรือ connex@nstda.or.th