News & Activities


19 กันยายน 2559

เปิดแล้ว...ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ สวทช. พร้อมจับมือ 16 เครือข่าย เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย อวท.เตรียมปูทางสู่การเป็น Testing Hub ของประเทศพร้อมเข้าสู่ยุค Thailand 4.0

เปิดแล้ว...ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ สวทช. พร้อมจับมือ 16 เครือข่าย เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย อวท.เตรียมปูทางสู่การเป็น Testing Hub ของประเทศพร้อมเข้าสู่ยุค Thailand 4.0

          เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดพิธีเปิด “ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. หรือ NSTDA Characterization and Testing Center(NCTC) โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผอ. สวทช. ประธานในพิธี พร้อมด้วย ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา ผอ. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และ ดร. ณฏฐพล วุฒิพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ สวทช. และคณะผู้บริหารโดยวัตถุประสงค์ของการเปิด NCTC ก็เพื่อให้บริการวิเคราะห์ทดสอบตามวิธีมาตรฐานต่างๆ ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ได้มาตรฐานและมีราคาสูง พร้อมทีมนักวิจัย วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษา ช่วยในเรื่องของการวิเคราะห์ทดสอบงานที่มีความซับซ้อนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นด้วยการทำงานในแบบ 7 วัน 24 ชั่วโมง

          การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบของ NCTC เป็นการเสริมจุดแข็งและสร้างขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ หุ่นยนต์และแมคาทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ โดย NCTC จะทำงานร่วมกับพันธมิตรใน “เครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Scientific Equipment Center Network, TSEN)” เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และเชื่อมโยงบริการภายในเครือข่ายด้วยกันเอง มุ่งหวังให้ประเทศพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยมีความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน “เครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทย” ประกอบด้วยพันธมิตร 16 หน่วยงาน ได้แก่

1. ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช.
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี          
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
7. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8.มหาวิทยาลัยเนรศวร

9. มหาวิทยาลัยบูรพา
10. มหาวิทยาลัยมหิดล
11. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
12.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
13. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
14. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
15. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
16. โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

 ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุลดร.ณรงค์ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ยุคที่เศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นการเปลี่ยนผ่านจากยุคการผลิตที่อาศัยเทคโนโลยีต่างประเทศมาเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของตัวเอง การแข่งขันกันในตลาดโลกจะแข่งกันใน 3 เรื่อง คือ “นวัตกรรม ประสิทธิภาพการผลิต และมาตรฐาน” ดังนั้นถ้าเราต้องการจะมีที่ยืนในตลาดโลก ผู้ประกอบการหรือเอกชนต้องดำเนินธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากนักวิจัย อาจารย์มหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐ ภาครัฐต้องสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงสิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ อีกปัจจัยที่สำคัญ คือ ภาครัฐต้องช่วยสนับสนุนยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยให้กับสินค้าเหล่านี้ การเข้าถึงเครื่องมือและบริการในการวิเคราะห์ทดสอบ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุง พัฒนางานวิจัย กระบวนการผลิต วิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุ งานแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรม รวมถึงงานควบคุมคุณภาพของวัสดุ หรือแม้แต่การใช้ระบุ species ของจุลินทรีย์ เพื่อวินิจฉัยโรค จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือในการวิเคราะห์ทดสอบที่มีราคาสูงมากและไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งยังต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจากนักวิจัย วิศวกรในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ทดสอบมีมูลค่าเกือบ 4 หมื่นล้านบาท 40% เอกชนต้องส่งไปทำวิเคราะห์ทดสอบในต่างประเทศ

 ดร. ณฏฐพล วุฒิพันธุ์ดร. ณฏฐพล เผยว่า ที่ผ่านมา สวทช. ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบตามหลักมาตรฐานสากลให้กับภาคเอกชนอยู่แล้ว แต่จะเป็นไปในลักษณะของการให้บริการผ่านศูนย์วิจัยแห่งชาติต่างๆ ซึ่งความต้องการในขอรับบริการเริ่มมีมากขึ้น สวทช. จึงมีแนวคิดที่จะตั้ง NCTC ขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว และให้บริการโดยเน้นความคล่องตัว รวดเร็วทำงานตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง เพื่อให้ทันต่อความต้องการและตอบโจทย์ภาคเอกชน กลุ่มอุตสาหกรรมที่มาขอรับบริการจะมีทั้งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ปิโตรเคมี ก๊าซธรรมชาติ อาหาร โลหะและเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น จุดแข็งของ NCTC เราทำงานเป็นเครือข่าย (เครือข่ายศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเทศไทย) การรับส่งตัวอย่าง ชิ้นงานต่างๆ ลูกค้าไม่จำเป็นที่จะต้องมาที่ส่วนกลาง ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหน จังหวัดใด เครือข่ายจะประสานงานกันเองในการวิเคราะห์ทดสอบนั้นๆ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวก รวดเร็ว และนำผลที่ได้ไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เร็วที่สุด ซึ่งต่างจากการส่งตัวอย่างหรือชิ้นงานไปวิเคราะห์ทดสอบที่ต่างประเทศ ซึ่งยุ่งยากตั้งแต่ขั้นตอนการจัดส่งและความล่าช้าของผลการวิเคราะห์ และที่สำคัญมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

 

ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณาดร.เจนกฤษณ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของผู้ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบสำคัญหลายราย การจัดตั้งศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. หรือ NCTC ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยถือเป็นสิ่งที่ดีมาก ผมมองว่า NCTC ช่วยเติมเต็มในส่วนของเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบขั้นสูงในการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติของวัสดุ (Characterization) และ NCTC จะเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามแผนงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ คือ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากอุตสาหกรรมเหล่านี้จะได้ประโยชน์แล้ว อีกกว่า 70 บริษัทที่มาตั้งศูนย์วิจัยอยู่ที่นี่ก็สามารถที่จะใช้ประโยชน์จากเครื่องมือชั้นสูงใน NCTC ทำให้การทำวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ในอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ สะดวกรวดเร็วขึ้นอีก นอกจาก NCTC แล้ว ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีการเปิดศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ PTEC ขึ้นที่นี่เช่นกัน ซึ่งเมื่อรวมกันกับ NCTC และผู้ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบรายอื่นที่อยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ฯแล้ว จะทำให้อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยมีความเข้มแข็งเป็นหนึ่งใน Testing Hub สำคัญที่สนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ต่อไป

NCTC ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบในด้านต่างๆ ดังนี้

เปิดแล้ว...ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบ สวทช. พร้อมจับมือ 16 เครือข่าย เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย อวท.เตรียมปูทางสู่การเป็น Testing Hub ของประเทศพร้อมเข้าสู่ยุค Thailand 4.0
สนใจติดต่อขอรับบริการและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. ชั้น 3 ทาวเวอร์ C อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC 2)
Call Center : 0-2117-6850
Email :