News & Activities


27 มกราคม 2558

ขอเชิญร่วมสัมมนา “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพการผลิตด้วยการออกแบบเชิงวิศวกรรม”


          สำนักคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง และศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม สวทช. จัดโครงการการยกระดับขีดความสามารถด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรมของผู้ประกอบการ เพื่อช่วยสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและบุคลากรในภาคอตสาหกรรมให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการผลิตในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่และปรับปรุงผลิตภัณฑ์เก่าโดยการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต หรือ สร้างเครื่องจักรใหม่ หรือ ชิ้นส่วนทดแทนอย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถที่จะพัฒนาแนวทางในการดำเนินงานจากการผลิตตามคำสั่ง (OEM) ไปสู่การมีความสามารถในด้านการออกแบบ(ODM) และ ไปสู่การมีตราสินค้าเป็นของตนเอง OBM ได้ในอนาคต

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่  วิศวกร นักศึกษา และผู้ที่สนใจในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนและประดับยนต์ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมจักรกลและชิ้นส่วน อุตสาหกรรมการแพทย์และเครื่องมือแพทย์รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมของโครงการ

1. สัมมนา “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพการผลิตด้วยการออกแบบเชิงวิศวกรรม” จะจัดขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 9.00-16.00 น. ณ ห้องแกรนด์รัชดา โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค รัชดาภิเษก

ห้วข้อที่น่าสนใจ

- การออกแบบเชิงวิศวกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมไทย
โดยวิทยากร ศ.ดร. ปราโมทย์ เดชะอำไพ อดีต Senior Aerospace Engineer ระดับ GS-14 องค์การอวกาศ NASA, USA. รองผู้อำนวยการศูนย์โลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- เสวนาความสำคัญของการออกแบบวิศวกรรมกับอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐ อาทิ

๐ รศ.ดร. วิโรจน์ ลิ่มตระการ ที่ปรึกษาอาวุโส ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม สวทช.
๐ คุณปรีชา พันธุ์ติเวช นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย
๐ ดร.คมเมธ จิตวานิชไพบูลย์ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง สวทน.
๐ ผู้บริหารจากสถาบันยานยนต์
๐ ผู้บริหารจากสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

- การประยุกต์ใช้การออกแบบวิศวกรรมในอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต    
โดย คุณยศกร ประทุมวัลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม ศูนย์โลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  
- เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมแบ่งปันประสบการณ์จากผู้ประกอบการที่ใช้การออกแบบเชิงวิศวกรรมในการพัฒนาธุรกิจของตนเอง และผู้แทนที่เข้าร่วมโครงการในปี 2557 อาทิ

บริษัท  PAP GAS & OIL จำกัด โดยคุณสมพงษ์ ตังคเศรษฐกุล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท วินเนอร์กรุ๊ป เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) โดยคุณชาคริต ศรีขาว ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน
บริษัท สุเมธวิน เทรด จำกัด โดยคุณอรรถวัฒน์ วิริโยภาส ผู้จัดการทั่วไป
บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด ตัวแทนบริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด 

2. คัดเลือกสถานประกอบการโดยคัดเลือกจากแบบประเมินศักยภาพ , ความพร้อมในการพัฒนาต้นแบบจริงและแผนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับผู้ประกอบการที่มีความสนใจพัฒนาต้นแบบเชิงวิศวกรรมและพร้อมที่จะบ่มเพาะต่อยอดในการสร้างต้นแบบชิ้นงานต่อไป

3. โดยผู้ที่เข้าร่วมสัมมนามีโอกาสได้รับคัดเลือกให้เข้าอบรมภาคปฏิบัติ “เทคนิคการใช้ Finite element method (FEM) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต” จำนวนไม่น้อยกว่า 10 บริษัท โดยจะเสียค่าธรรมเนียมเพียงหน่วยงานละ 5,000 บาทเพื่อรับการสนับสนุนการจัดทำต้นแบบและทดสอบต้นแบบชิ้นงานจำนวนบริษัทละ 1 ชิ้นงาน รูปแบบของการอบรมจะเป็นการบรรยายให้ความรู้ด้านวิศวกรรมชั้นสูง การฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ชิ้นงานจริงจากต้นแบบชิ้นงานที่มีปัญหาหรือต้นแบบชิ้นงานที่ต้องการจะพัฒนาต่อยอด ภาคทฤษฏีระยะเวลารวม 5 วัน ในเดือนมีนาคม 2558 (จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งนึง) และอบรมภาคปฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์รายโครงการอีก 2 วันที่ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

ประโยชน์ที่ได้รับ 

ได้สร้างต้นแบบจริงและทดสอบต้นแบบ โดยได้รับคำปรึกษาในการดำเนินการสร้างต้นแบบและทดสอบต้นแบบชิ้นงานแก่ผู้ประกอบการ พร้อมทั้งสร้างต้นแบบจริงให้บริษัทละ 1 ชิ้นงาน

ช่องทางการสมัคร

สามารถดาวน์โหลดใบลงทะเบียนเข้าสัมมนาได้ที่ >> Click <<
ดาวน์โหลดโบว์ชัวร์รายละเอียดโครงการฯ ได้ที่ >> Click <<
ลงทะเบียนออนไลน์ >> http://goo.gl/P6YMd4
ส่งใบลงทะเบียนกลับมาที่ E-mail:

 สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ 02-564-6310-11 ต่อ 117
 

***สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 หรือเมื่อมีผู้สมัครเต็มจำนวน

*** ขอสงวนสิทธิการเข้ากิจกรรมในโครงการโดยการลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้นไม่เปิดรับการลงทะเบียนหน้างาน (Walk in)***