News & Activities


18 กันยายน 2556

ไทยเดินหน้านิคมวิจัยเฟส 2 ปรับกลไกตอบโจทย์นักลงทุน

          จุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยเริ่มปู ทางมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 หลังจากที่รัฐบาลในยุคนั้นกล้าตัดสินใจลงทุนสร้างนิคมวิจัยแห่งแรกในประเทศ ไทยด้วยงบประมาณกว่า 7 พันล้านบาท เพื่อให้เป็นกลไกในการพัฒนาคนและสร้างนวัตกรรมจากการวิจัยร่วมกันระหว่างภาค รัฐและเอกชน

          โมเดลนี้เกิดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ รวมถึง เยอรมันที่มองเห็นความสำคัญด้านการพัฒนาเทคโนโลยีไม่แพ้กัน รัฐบาลได้จัดสรรพื้นที่กว่า 2.6 พันไร่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเบอร์ลินให้เป็นที่ตั้งของเมืองวิทยา ศาสตร์แอดเลอร์ฮอฟ (Aldershof City of Science) นิคมวิจัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง ภาครัฐและเอกชนตลอดจนมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยภายนอกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมากลายเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่เยอรมันขึ้นชื่อเรื่องความแข็งแกร่ง หรือแม้แต่เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่กำลังอยู่ในความสนใจของคนทั่ว โลกภายใต้งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาที่ภาครัฐสนับสนุน 3% ของ GDP ในระยะเริ่มต้นและขยับขึ้นมาอยู่ที่ 5% ของ GDP จนถึงปัจจุบัน

          สำหรับประเทศไทย นิคมวิจัยภายใต้ชื่ออุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อยู่ระหว่างการขยายสู่เฟสที่ 2 ด้วยงบประมาณก่อสร้าง 3 พันล้านบาท อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 นี้ สามารถเพิ่มพื้นที่ให้เอกชนเข้ามาทำวิจัยได้มากถึง 124,000 ตร.ม. คาดว่าจะดึงดูดผู้เช่าได้อีกกว่า 150 ราย

          นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่าในเฟสแรกของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (ไซน์พาร์ค) มีบริษัทเอกชนทั้งไทยและต่างชาติเข้ามาเช่าเต็มพื้นที่กว่า 60 ราย และยังย้ำว่าไซน์พาร์คมีความแตกต่างจากนิคมอุตสาหกรรมตรงที่เป็นห้องแล็ปขนาดใหญ่ เพื่อการวิจัยสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่หรือโรงงานขนาดเล็กที่ไม่มีมลพิษ ในขณะที่พื้นที่ภายในอาคารได้ออกแบบเพื่อรองรับงานวิจัยโดยวางระบบท่อแก๊สมี ทางออกของสารเคมีที่เป็นพิษโดยเข้าระบบทำลายภายใต้การควบคุม ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่สูงกว่านิคมอุตสาหกรรมทั่วไป

          อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยในระยะที่ 2 ได้แบ่งพื้นที่การวิจัยให้กับภาคเอกชนใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ออกแบบพื้นที่ไว้รองรับใน 4 อาคารที่สร้างขึ้นใหม่ อาทิ อาหารคนอาหารสัตว์การเกษตรยารักษาโลกห้องแล็บบริการไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นส่วนยานยนต์และการทดสอบพลาสติกชีวภาพมาตรฐานส่งออกโดย คาดว่าจะเปิดได้อย่างเป็นทางการในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 นายทวีศักดิ์ย้ำว่า "ใครมามือเปล่าและอยากจะเปิดแล็บก็ทำได้ทันที"

           ขณะที่นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ภาคเอกชนที่จะเข้าไปใช้พื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ จะได้รับความร่วมมือที่ดี จากนักวิจัยที่มีองค์ความรู้ เป็นแหล่งผลิตผลงานวิจัยปัญหาที่เกิดขึ้นในธุรกิจสามารถแก้ได้โดยมีนักวิจัย เป็นที่ปรึกษา "วันนี้ต้องยอมรับว่าภาคเอกชนในประเทศไทยให้ ความสนใจกับงานวิจัยน้อยการลงทุนที่มีอยู่จำกัด ทำให้เกิดช่องว่างตรงกลางที่จะนำความรู้จากห้องแล็ปออกไปยังภาคเอกชน ทำให้กลไกอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยยัง ไปไม่ถึง ซึ่งรัฐบาลต้องสนับสนุนตรงนี้มากขึ้น ใน อนาคตผมอยากเห็นอุทยานวิทยาศาสตร์กลายเป็นเมืองวิทยาศาสตร์ที่สามารถขยายออกไปได้" การที่รัฐบาลให้เงินสนับสนุนเฉพาะงานวิจัยอาจไม่เพียงพอแต่ต้องมองถึงการต่อยอด ให้มากขึ้นเพื่อให้ภาคเอกชนเห็นประโยชน์และเข้าร่วม โดยการลงทุนต้องมาจากภาคเอกชนเป็นหลัก ในขณะที่ภาครัฐเองต้องปรับเปลี่ยนมุมมองแบ่งการ ทำงานใหม่ให้ชัดเจนระหว่างหน่วยงานสนับสนุนวิจัย 6 ส.และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเพื่อให้งานวิจัยสามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้มากขึ้นภายใต้งบประมาณสนับสนุนการวิจัยที่จำกัดอยู่เพียง 0.2% ของ GDP ให้ขยับไปที่เป้าหมาย 1% ของ GDP ใน 5 ปีโดยบริษัทเอกชนต้องมีฐานของงานวิจัยสนับสนุน

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2556