News & Activities


26 เมษายน 2561

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ขอแสดงความยินดีกับบริษัทเอกชนและนักวิจัยนาโนฯ คว้า 11 รางวัลจากงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ “46th International Exhibition of Invention Geneva” สวิตเซอร์แลนด์

 

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ขอแสดงความยินดีกับบริษัทเอกชนและนักวิจัยนาโนฯ คว้า 11 รางวัลจากงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ “46th International Exhibition of Invention Geneva” สวิตเซอร์แลนด์

 

          อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (อวท.) ขอแสดงความยินดีกับบริษัท เวทโปรดักส์ รีเซิร์ช แอนด์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด และ บริษัท ที-เน็ต จำกัด รวมถึงศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่สามารถคว้ารางวัลด้านงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ระดับโลกในงาน 46th International Exhibition of Invention Geneva ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน 2561 ถือเป็นงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติที่สำคัญและมีผู้เข้าร่วมงานมากที่สุดในโลก ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ นครเจนีวา และองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ในปีนี้มีผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการมากกว่า 1,000 ผลงาน จาก 40 ประเทศทั่วโลก มีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 50,000 คน

น.สพ.สนัด วงศ์ทวีทอง

          น.สพ.สนัด วงศ์ทวีทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริหารคียแอคเคานต์ กล่าวว่า “มันไม่ง่ายเลยกับการคัดเลือกผลงานเด่นจากบริษัทเอกชนที่อยู่ในนิคมวิจัยแห่งนี้ที่มีอยู่กว่า 90 บริษัท เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยและงานนี้ถือเป็นงานระดับโลก แต่ละประเทศจะคัดสุดยอดของสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมชั้นเลิศกันมาทั้งนั้น แต่ในท้ายที่สุดเราก็ได้ 2 บริษัท คือ บริษัท เวทโปรดักส์ รีเซิร์ช แอนด์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด และ บริษัท ที-เน็ต จำกัด เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้แล้วก็ไม่ทำให้คนไทยผิดหวังครับ เพราะสามารถคว้ารางวัลมาได้เกินความคาดหมายด้วยซ้ำ

 

 

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ขอแสดงความยินดีกับบริษัทเอกชนและนักวิจัยนาโนฯ คว้า 11 รางวัลจากงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ “46th International Exhibition of Invention Geneva” สวิตเซอร์แลนด์


บริษัท เวทโปรดักส์ รีเซิร์ช แอนด์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด และในเครือเวทโปรดักส์ คว้า 5 รางวัล ได้แก่

      1. เหรียญทอง ผลงาน Restwheel วีลแชร์อัตโนมัติเพื่อน้องหมาพิการ 
      2. เหรียญเงิน ผลงานผลิตภัณฑ์ Pericol ผลิตภัณฑ์ทดแทนยาปฏิชีวนะที่แก้ปัญหาท้องเสียในสุกร
      3. เหรียญเงิน ผลงานผลิตภัณฑ์ Tilmicosin nanoparticle ผลิตภัณฑ์ยาทิลมิโคซินที่พัฒนาคุณภาพเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น 
      4. เหรียญทองแดง ผลงานผลิตภัณฑ์ Begesta ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ท้องผูกในแม่สุกรอุ้มท้อง 
      5. เหรียญทองแดง ผลงานผลิตภัณฑ์ Mineral nanoparticle ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุที่พัฒนาเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

 

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ขอแสดงความยินดีกับบริษัทเอกชนและนักวิจัยนาโนฯ คว้า 11 รางวัลจากงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ “46th International Exhibition of Invention Geneva” สวิตเซอร์แลนด์

 

          บริษัท ที-เน็ต จำกัด คว้า 2 รางวัล ได้แก่ เหรียญทองแดงและประกาศนียบัตรโบว์สีน้ำเงิน จาก สมาคมนักประดิษฐ์แห่งชาติยุโรป (EUROPE FRANCE INVENTEURS) จากผลงานเครื่องป้องกันโดรน (Drone Jammer) เป็นการส่งสัญญาณรบกวนโดรนที่ไม่ได้รับอนุญาตในรัศมีที่ห่างออกไปได้ถึง 700-1,000 เมตร เมื่อผู้ใช้สั่งการ Drone Jammer ไป จะทำให้ผู้บังคับโดรนนั้นไม่สามารถควบคุมโดรนได้ ทำให้โดรนตัวนั้นต้องบินกลับไปยังจุดที่ปล่อยออกมา ถือเป็นผลงานนวัตกรรมด้าน Security ที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและผู้เข้าชมงานมาก 

นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยี สวทช. ก็โดดเด่นไม่แพ้กันคว้ามาได้ถึง 4 รางวัล ได้แก่

 

ดร.ณัฏฐพร พิมพะ ดร.ณัฏฐพร พิมพะ

 

         1. เหรียญทอง จากผลงาน "การแปรรูปโฟมพอลิสไตรีนของเสียเป็นวัสดุดูดซับน้ำมันและตัวทำละลายอินทรีย์" (Conversion of polystyrene foam waste to a high performance oil and organic solvent adsorbent) ทีมหน่วยวิจัยเกษตรนาโนและสิ่งแวดล้อม 

 

ดร.ธีรพงศ์ ยะทา ดร.ธีรพงศ์ ยะทา

 

 

         2. เหรียญเงิน จากผลงาน "อนุภาคนาโนทิลมิโคซินสำหรับการป้องกันและรักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในสัตว์เศรษฐกิจ" (Dry Powder Form of Tilmicosin Nanoparticle used for Preventing and treating respiratory diseases in livestock) ทีมวิจัยห้องปฏิบัติการระบบนำส่ง ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างศูนย์นาโนฯ กับ บริษัท เวทโปรดักส์ รีเซิร์ช แอนด์ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด

 

ดร.วรล อินทะสันตา ดร.วรล อินทะสันตา

 

         3. เหรียญทองแดง จากผลงาน “แผ่นเส้นใยนาโนเมมเบรนสมบัติพิเศษและแผ่นกรองนาโนที่มีความแข็งแรง ทนทานขนาดเล็กและบางพิเศษจากเส้นใยนาโนสำหรับการกำจัดวัณโรค” (n-Breeze : Multifunctional & Scalable nanofilter with Mechanically-Robust and Ultrathin Nanofibrous Membranes for Tuberculosis Elimination) ทีมหน่วยวิจัยวัสดุนาโนเฉพาะทางและนาโนเทคโนโลยีขั้นสูง

 

ดร.วิยงค์ กังวานศุภมงคล ดร.วิยงค์ กังวานศุภมงคล

 

 

         4. เหรียญเกียรติยศ (Special Award) จากผลงาน "ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยเคลือบด้วยฟิล์มพอลิเมอร์นาโนคอมพลสิทที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ" (Controlled release fertilizer by coated with biodegradable nanocomposite polymer film) ทีมหน่วยมาตรวิทยานาโนวิเคราะห์และวิศวกรรม

 

 

         น.สพ.สนัดฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในนิคมวิจัยแห่งนี้ เรามีพื้นที่พร้อมสำหรับเอกชนที่ต้องการเข้ามาทำวิจัยและพัฒนา รวมถึงหาโอกาส ความร่วมมือทั้งกับ 4 ศูนย์วิจัยแห่งชาติ หรือแม้แต่บริษัทเอกชนที่อยู่ในนี้ เพราะภารกิจหลักของเรา คือ การผลักดันผลงานวิจัย นวัตกรรมต่างๆ ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนไปสู่เวทีโลกให้ได้ ผ่านการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย เพราะฉะนั้นการเข้ามาอยู่ในนิคมวิจัยแห่งนี้ไม่ใช่แค่การทำงานวิจัย มีผลงานออกมาเท่านั้น แต่ยังเป็นที่สำหรับการให้โอกาสกับงานวิจัยภาครัฐและเอกชนได้ยืนอยู่ในเวทีระดับนานาชาติอีกด้วย ซึ่งงานนี้ก็เป็นบทพิสูจน์ได้ดีว่า นักวิจัย สวทช. และบริษัทวิจัยใน (อวท.) มีศักยภาพมากแค่ไหน..?

         สำหรับงานในครั้งนี้ ต้องขอบคุณ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่เป็นแม่งาน ซึ่งมีผลงานจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วมด้วย และสามารถคว้ารางวัลต่างๆ ได้เช่นกัน ผมรู้สึกว่างานวิจัยปีนี้ดูคึกคัก ภาคเอกชนตื่นตัวและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นไม่ใช่แค่ในประเทศไทยแต่ต่างชาติก็เช่นกัน สิ่งสำคัญของการมาประกวดงานนวัตกรรมระดับโลก ผมมองว่าไม่ใช่แค่มาเพื่อล่ารางวัล แต่มันคือการมาเพื่อโอกาสทางธุรกิจ การเปิดตลาดในระดับโลก